โครงการ Erasmus+: GeoS4S

March 15, 2019

ศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เข้าร่วมโครงการ Geoservices-4-Sustainability ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง 10 มหาวิทยาลัยทั่วโลก ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โดยมี Dr.Shahnawaz Shahnawaz จาก University of Salzburg ประเทศออสเตรียเป็นผู้ประสานงานหลักของโครงการ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่าง 15 ตุลาคม 2558- 14 ตุลาคม 2561 รวม 3 ปี ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากแต่ละมหาวิทยาลัยจะทำการสร้างโมดูลการเรียนการสอนออนไลน์ ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาได้ นอกจากนี้ทางโครงการ GeoS4S ยังมีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กรในเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งต่อไป 

New Project 9

โดยศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรมัรบผิดชอบในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรหัวข้อ Community and Participatory GIS ซึ่งเป็นโมดูลที่จะสอนการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อศึกษาปัญหาเฉพาะในแต่ละพื้นที่ และ Geospatial analysis of food securityand sustainability ซึ่งเป็นโมดูลที่อธิบายถึงการวิเคราะห์ความไม่ปลอดภัยของอาหารในระดับครัวเรือนจนถึงระดับประเทศโดยใช้ข้อมูลและวิธีการด้านภูมิสารสนเทศ

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติมสามารถ อ่านเพิ่มเติมได้ทาง: http://geos4s.zgis.at/

รายละเอียด Platform สำหรับเข้าถึงสื่อการเรียนแบบออนไลน์แต่ละโมดูลของโครงการ สามารถเข้าดูได้ทาง: https://geos4s.moodlecloud.com/

Other Projects

GIS HEALTH WORKSHOP
ศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เห็นความสำคัญของการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการทางด้านสาธารณสุขและโรคระบาดเขตร้อน จึงได้มีการจัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “GIS Health Workshop (การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านสาธารณสุขและโรคระบาดเขตร้อน)” ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา
Read more.
โครงการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (การประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศของประเทศไทย)
Customer Pollution Control Department ในโครงการนี้ศูนย์ฯ ได้ดำเนินงานให้กับกรมควบคุมมลพิษ โดยศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมในการตรวจจับและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในประเทศไทย  ซึ่งในงานวิจัยนี้ทำการทดสอบการตรวจวัดข้อมูลคุณภาพโอโซนและ PM2/5 Other Projects
Read more.
MOBILE GEOTAGGED DATA GATHERING FOR DISASTER REMEDIATION
Sally E. Goldin and Kurt T. Rudahl Published in Proceedings of COMNETSAT 2012, July
Read more.
โครงการการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์เกาะความร้อนกับการใช้พลังงานของชุมชนเมืองขนาดใหญ่โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมและบิ๊กดาตา
Customer The Energy Policy and Planning Office (EPPO)   ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์เกาะความร้อนในชุมชนเมืองหลักในประเทศไทยกับการใช้พลังงาน เพื่อดูแนวโน้มและสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อนในแต่ละเมืองได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา
Read more.